pkbunchee.com



ปัญหาภาษี - ความแตกต่างค่าจ้างตาม มาตรา 40(1) กับ 40(2)

บทความนี้เขียนโดย Mr.p
เมื่อ 24 กันยายน 2553 15:27:21

ปัญหาภาษีอากร ตอนมาตรา 40(1)กับ40(2)


เรื่อง ความแตกต่างของ ค่าจ้าง ตามมาตรา 40(1)  และ 40(2) ตามประมวลรัษฎากร

 

มาตรา 40(1)  เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่คิดค่าเช่า เงินได้ที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

 

มาตรา 40(2) เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ และเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นประจำหรือชั่วคราว

     

การเขียนกฎหมายออกมา ความเห็นผมว่าน่าจะเอามารวมกันเลย เพราะดูแล้วคล้ายกันมากๆ แต่ความแตกต่างของปัญหานี้คือ  

 

มาตรา 40(1)

                                                                              

**ไม่มีความเป็นอิสระในการทำงาน

**เป็นลูกจ้างและนายจ้างกันตามกฎหมายแรงงาน

**เมื่อมีปัญหาฟ้องร้องกันด้วยกฎหมายแรงงาน

**งานเสร็จหรือไม่เสร็จก็ได้รับเงิน

     ยกเว้น VAT  ตามมาตรา 81 (ฐ) สำหรับการจ้างแรงงาน

 

มาตรา 40(2)

 

** มีความเป็นอิสระในการทำงาน

** ไม่ใช่ลูกจ้างและนายจ้างกัน

** เมื่อมีปัญหากันใช้กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ฟ้อง

** งานเสร็จตามข้อตกลงถึงจะได้รับเงิน

     ไม่มีข้อยกเว้น  VAT

 

จะเห็นได้ว่าหากมีการแยกประเภทเงินได้ผิด ก็คงต้องจะลำบากแน่นอน

  

   

 



ความคิดเห็นที่ 1

ขอบคุณคะที่ให้ความรู้

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3

 ถ้าเป็น40(6) ล่ะ แตกต่างจาก40(2) อย่างไรบ้าง

ความคิดเห็นที่ 4

ค่าตอบแทนกรรมการ เข้าข่าย มาตรา 40(2) ใช่หรือเปล่าคะ

แล้วจะยื่น ในรูปแบบ ภงด.3 หรือว่า ยื่น ภงด.1 (แล้วคิดแบบอัตราภาษีก้าวหน้า)

ความคิดเห็นที่ 5

แสดงความคิดเห็น

ชื่อ

ความคิดเห็น