pkbunchee.com



ภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม

บทความนี้เขียนโดย mr.p
เมื่อ 20 มีนาคม 2555 13:33:54

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่มีความสนใจเกี่ยวกับกฎหมายภาษี มีหลายคนไม่เข้าใจเรื่องภาษีครับ ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะลำพังการใช้เวลากับธุรกิจประจำวันก็ยังไม่เพียงพอ หากจะไปเรียนรู้เรื่องภาษีก็คงต้องเสียเวลามากมาย ถึงคราวที่มีปัญหาเกิดขึ้น ก็ค่อยหาวิธีแก้ไขกัน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ผิดครับ แต่หากโชคดีความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะแก้ได้ก็จะเสียเงินไม่มากก็น้อย และมีจำนวนไม่น้อยที่มีปัญหาด้านภาษีเกิดขึ้นแล้วแก้ไขไม่ได้เลยจะต้องถูกยึดอายัดทรัพย์สินที่หามาทั้งชีวิตและอาจจะต้องติดคุกคดีอาญาเป็นของแถม เพราะคำว่า “ผู้เสียภาษี” นั่นเอง เป็นคำง่ายๆแต่แฝงด้วยความเจ็บปวดรวดร้าวที่ให้ไว้กับคนมาแล้วหลายคนครับ อะไรที่ตรงข้ามกับคำว่า “ผู้เสียภาษี”ก็มักจะต้องพบปัญหา อาทิเช่น การเลี่ยงภาษี การหลบภาษี การขอคืนภาษี การเครดิตภาษีหรือแม้แต่การเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้องที่ก่อให้เกิดเหตุทำให้ภาษีคาดเคลื่อน   ซึ่งคำว่าผู้เสียภาษี คือผู้ที่จะต้องแสดงตัวตนในแบบภาษีและชำระภาษีให้ครบถ้วนตามความสามารถและตามลักษณะการใช้ทรัพยากรของประเทศเพื่อจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่ตน  ผมจะขออธิบายเรื่องภาษีให้เข้าใจง่ายๆนะครับ ภาษีในเมืองไทยปกติแล้วเสียกันอยู่ 2 แบบครับ
 1. ภาษีตรง
 2. ภาษีทางอ้อม 
มีหลักให้จำง่ายๆครับ ภาษีทางตรง มักจะผลักภาระให้คนอื่นไม่ได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น ส่วนภาษีทางอ้อมจะสามารถผลักภาระให้คนอื่นได้ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีโรงเรือน ภาษีธุรกิจเฉพาะ นั่น เอง การผลักภาระก็คือไม่อยากเสียเงิน ก็เก็บจากผู้อื่น เช่น ขายสินค้าราคา 100 บาทแต่เก็บเงินลูกค้า 107 บาทเพราะมี ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% หรือถ้าจะเช่าบ้าน ผู้เช่าต้องยอมจ่ายค่าภาษีโรงเรือนแทนผู้ให้เช่า อย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเองอยู่ได้ด้วย การเก็บภาษีทางอ้อมเป็นหลักนี้เอง เพราะเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงกว่าภาษีทางตรง สามารถเก็บได้จากทุกคน ตามลักษณะการใช้จ่ายว่าใครใช้จ่ายมากหรือน้อยเพียงใด คงจะยากที่คนจะหลบภาษีตัวนี้ได้และกฎหมายมักจะมีบทลงโทษที่รุนแรงมากกว่าภาษีทางตรง ในการวางแผนภาษีนั้น ภาษีทางตรงจะมีรูปแบบที่หลากหลายในการวางแผนได้มากกว่าภาษีทางอ้อม  คือหากใครมีความรู้และมีช่องทางที่ดีในเรื่องการวางแผนภาษีก็จะได้เปรียบกว่าคนอื่น ที่จะวางแผนให้เสียได้ถูกต้องและประหยัดภาษีอีกด้วย ในการวางแผนภาษีที่ดีที่สุดก็คือการเสียภาษีแล้วสรรพากรไม่ติดใจโดยเสียอย่างถูกต้อง เพราะหากเสียภาษีไปอย่างผิดๆไม่ว่าผู้เสียภาษีจะทราบหรือไม่ก็อาจจะต้องพบกับค่าปรับและเงินเพิ่มที่แสนจะน่ากลัวครับ เพราะคิดกันเป็นเท่า เช่นยื่นผิดปรับ 1 เท่าของภาษีที่ขาด ไม่ยื่นเลยตรวจเจอ ปรับ 2 เท่าของภาษีที่ขาด เป็นต้น  หากเราคิดกันเล่นๆนะครับภาษีทางอ้อมที่เก็บได้จากในประเทศไทยสูงแสดงว่าคนมีเงินใช้จ่ายมากแต่ทำไมประเทศไทยถึงเก็บภาษีทางตรงได้น้อย หรือแสดงว่าคนที่ใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ นำเงินมาจากแหล่งที่ไม่ได้เสียภาษีมาใช้จ่ายหรือเปล่า น่าคิดนะครับ
 



ความคิดเห็นที่ 1

อ๋อ

ความคิดเห็นที่ 2

อยากรู้ว่าภาษีทางอ้อมคืออะไรค่ะ

ความคิดเห็นที่ 3

ความคิดเห็นที่ 4

 เศรษฐศาสตร์จุลภาค ยากจัง!!

แสดงความคิดเห็น

ชื่อ

ความคิดเห็น