52-07-9-ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากมีผล 22 ก.ค. 62 ล้านบัญชีได้อานิสงส์ไม่เกิน 2 หมื่นบาท
คลังออกประกาศกรมสรรพากรยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย
จากดอกเบี้ยเงินฝากออกทรัพย์ที่ไม่เกินปีละ 2 หมื่นบาท
มีผลตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2552 ระบุครอบคลุ่มผู้ฝากเงินถึง 62
ล้านบัญชี รัฐยอดสูญรายได้ปี 300 – 400 ล้านบาท
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง
เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังได้ออกประกาศกรมสรรพากรยกเว้นการหักภาษี ณ
ที่จ่าย
สำหรับเงินฝากออมทรัพย์รายบัญชีที่มีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกินปีละ 2
หมื่นบาท ทุกธนาคารทั่วประเทศโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม
ที่ผ่านมา ซึ่งจะครอบคลุมเงินฝากออมทรัพย์ 62 ล้านบัญชี
รวมเม็ดเงินกว่า 1.5 ล้าน ล้านบาท โดยหากผู้ฝากเงินมีหลายบัญชี
และมีรายได้ดอกเบี้ยรวมกันเกิน 2 หมื่นบาท
มีหน้าที่ต้องแจ้งธนาคารให้หักภาษี ณ
ที่จ่ายรายเดือนหรือจะรวมยอดทั้งปีเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาช่วงสิ้นปีก็ได้
“เกณฑ์ดังกล่าวเป็นสิทธิประโยชน์เดิมที่รัฐบาลให้แก่ผู้ฝากเงินออมทรัพย์มาตั้งแต่ปี
2538 แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้เกิดขึ้นจริง
เนื่องจากธนาคารมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ยเพราะไม่สามารถรู้ได้ว่ามีใครบ้างที่ขอคืนภาษีซึ่งในแต่ละปีกรมสรรพากรจะมีรายได้จากส่วนนี้ประมาณ
300 – 400 ล้านบาท
หากยกเว้นภาษีถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำและน่าจะบรรเทาปัญหาผู้ที่อาศัยรายได้จากดอกเบี้ยได้มากกว่า”
นายกรณ์กล่าว
ส่วนกรณีที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติให้ยกเว้นภาษีรายได้ดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ไม่เกิน
1 แสนบาทว่า ขณะนี้ไม่มีความจำเป็น
เนื่องจากการแก้ไขประกาศสรรพากรที่ยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย
บัญชีออมทรัพย์ ที่มีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 2
หมื่นบาทนั้นมีผลกว้างกว่า ครอบคลุมบัญชีออมทรัพย์ถึง 62 ล้านบัญชี
จากจำนวนบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด 63 ล้านบัญชี
เพราะหากประเมินจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ปัจจุบัน 1%
กรณีของบัญชีที่ไม่เข้าข่ายยกเว้น จะต้องมีเงินฝากสูงถึง 4 ล้านบาท
ซึ่งถือว่ามีจำนวนน้อย
ที่มา : หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 23 กรกฎาคม 2552