นิทานภาษี นางสุดทาง กับ ต่างประเทศ
สวัสดีครับ ในบทความนี้ผมขอนำเสนอนิทานเกี่ยวกับภาษีซ้อน ( DTA) เป็นเกร็ดความรู้เล็กน้อยมาฝากเพื่อนๆนะครับ เพื่อนๆคนไหนที่มีญาติทำงานอยู่ต่างประเทศ ก็น่าจะสนใจเรื่องนี้นะครับ นิทานเรื่องนี้มีอยู่ว่า
กาลครั้งหนึ่งเมื่อตระกี้ สามีนางสุดทาง ทำงานอยู่ต่างประเทศมาเป็นเวลา 5 ปีและได้ส่งเงินมาให้ใช้ทุกเดือน ซึ่งนางสุดทางได้อาศัยอยู่ในประเทศไทย วันหนึ่งวันนั้น นางสุดทางเห็นเพื่อนบ้านโดนสรรพากรประเมินภาษีจนหมดตัว ซึ่งสรรพากรได้บอกเพื่อนบ้านของนางสุดทางว่า หากคุณเป็นคน มีเงินได้ และ เงินได้นั้นไม่ได้รับยกเว้นภาษี ก็ต้องเสียภาษีทุกคน นางสุดทางได้ยินดังนั้นจึงตกใจเพราะคิดได้ว่าตนและสามีก็เป็นคนซึ่งมีเงินได้เช่นกัน ตายแน่ๆ ด้วยความที่กลัวสรรพากรมากจนขอเสียขึ้นสมอง นางสุดทางจึงรีบวิ่งมาหาเพื่อนแถวๆบ้านที่พอมีความรู้เพื่อหาทางแก้ไข พอไปถึงบ้านเพื่อนก็รีบเล่าความทุกใจของตนให้เพื่อนฟังทันที เพื่อนของนางสุดทางก็พอจะมีความรู้แว๊บๆในสมองแต่กลัวว่าจะเสียฟอร์ม จึงแสดงตนว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างฉลาด และ ตอบนางสุดทางไปว่า สุดทางเพื่อนรักไม่ต้องกังวลปราบใดที่สามีของนางมิได้มาเหยียบแผ่นดินไทยไม่ต้องเสียภาษี นางสุดทางได้ยินดังนั้นจึงดีใจแต่ก็กังวลใจในระดับหนึ่งและรีบกลับไปเขียนจดหมายถึงสามีตนว่า ถึงสามีของสุดทางที่รัก จดหมายฉบับนี้เขียนมาด้วยความรักอันลึกซึ่ง สุดทางรู้สึกซาบซึ้งในน้ำใจของสามีที่ได้ทำงานหามรุ่งหามค้ำเหนื่อยหนักหนามากเพื่อจะส่งเงินมาให้ดิฉัน แต่สามีที่รักรู้หรือไม่ว่า หากสามีที่รักเหยียบเข้ามาแผ่นดินไทย เงินทุกบาททุกสตังค์ ที่สามีส่งมาให้มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะหมดไปแน่ๆให้กับกรมสรรพากรเนื่องจากเราไม่เคยเสียภาษีเลยตลอด 5 ปีที่ผ่านมาค่าปรับต่างๆจากการถูกประเมินภาษี กินเราหมดแน่นอน อย่างไรก็ตาม สุดทางอยากจะบอกสามีที่รักว่ายังรักสามีเสมอ หลังจากนั้น สามีของนางสุดทางก็ไม่ได้กลับมาประเทศไทยอีกเลย นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การไม่รู้ภาษีก็เป็นภัยดีๆนี่เอง .........จบแหละ
หลักของนิทานเรื่องนี้มีอยู่ว่า
บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 41 วรรค2, วรรค3 ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อดังนี้ถึงจะเสียภาษีในประเทศไทย
1. ผู้มีเงินได้ไม่จำกัดว่าสัญชาติไหนต้องอยู่เมืองไทยถึง 180 วันในปีภาษี (ปีปฏิธิน):มาตรา 41 วรรค 3
2. มีเงินได้จากเหตุใดเหตุหนึ่งจากนอกประเทศ
2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ
2.3 ทรัพย์สินในต่างประเทศ
3. นำเงินได้จากแหล่งนอกประเทศเข้ามาในเมืองไทยในปีเดียวกับปีที่ได้รับเงินได้ (จ่ายในเมืองไทยถือว่าเป็นการนำเข้าโดยปริยาย)
หมายเหตุ ถ้าจ่ายนอกประเทศไม่ต้อง หัก ณ ที่จ่าย นำส่ง
นิทานเรื่องเรื่องหากสามีของนางสุดใจจะเข้ามาเมืองไทยก็ได้ไม่ต้องอยู่ถึง 180 วันหรือหากจะอยู่ถึงเงินได้ที่จะเสียภาษีก็คือเงินได้ของปีสุดท้ายที่เข้ามาในเมืองไทยไม่ใช่ทั้ง 5 ปีที่ผ่านมาเด้อ สงสารจริงๆ